หลักการคิดค่าผ่าตัด
การประเมินราคา
เมื่อท่านตัดสินใจให้หมอนนท์ผ่าตัดให้ เฉพาะโรงพยาบาลที่ท่านเลือก จะทำการประเมินราคาอย่างเป็นทางการ โดยใช้ระยะเวลาการผ่าตัด เครื่องมือแพทย์ ยา เวชภัณฑ์ และค่าตอบแทนทีมแพทย์ เป็นข้อมูลในการประเมิน
ราคาประเมินประกอบด้วย
- ค่าตอบแทนทีมแพทย์ ได้แก่ ศัลยแพทย์ ผู้ช่วยผ่าตัด วิสัญญีแพทย์
- ค่าบริการโรงพยาบาล แปรผันตามระยะเวลาผ่าตัดจริง เครื่องมือแพทย์ ยาและเวชภัณฑ์ที่ใช้จริง จำนวนวันที่นอนพักในโรงพยาบาล
การคิดค่าผ่าตัดโดยใช้คุณภาพเป็นตัวตั้ง (Quality-based Approach)
ศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์ ใช้หลักการในการผ่าตัดคือ ทำด้วยความปราณีตที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเหมาะสมกับแต่ละบุคคล ดูเป็นธรรมชาตที่สุด แต่เนื่องจากพื้นฐานโครงสร้างเดิมหรือปัญหาเดิมของผู้ป่วยแต่ละคนแตกต่างกัน ความยากง่ายจึงไม่เท่ากัน ทำให้การผ่าตัดแต่ละรายไม่เหมือนกัน ระยะเวลาการผ่าตัดแต่ละรายไม่เหมือนกันแม้จะเป็นการผ่าตัดชนิดเดียวกัน เป็นเหตุให้ไม่ได้คิดราคาตายตัวเป็นแพ็คเก็จสำหรับการผ่าตัดแต่ละชนิด ทั้ง ๆ ที่เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดในวงการความงาม
การคิดค่าผ่าตัดโดยใช้กำไรขาดทุนเป็นตัวตั้ง (Financial-based Approach)
เมื่อมีการกำหนดราคาตายตัวสำหรับการผ่าตัดแต่ละอย่าง มันบ่งชี้ว่าเป็นการดูแลที่ใช้เงินตัวตั้ง
ทางฝ่ายผู้ป่วย ก็คำนึงเรื่องเงินเป็นหลัก ผู้ป่วยรู้สึกสบายใจเพราะรู้แน่นอนว่า ต้องเตรียมเสียเงินมากน้อยเพียงใด แต่หลาย ๆ คนอาจจะลืมความจริงบางอย่างเกี่ยวกับคุณภาพ
ความจริงคือ ฝ่ายสถานบริการเองก็คำนึงเรื่องเงินเป็นหลักเช่นกัน ค่าผ่าตัดประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ ค่าตอบแทนแพทย์ (รวมถึงวิสัญญีแพทย์ ผู้ช่วยผ่าตัด) และค่าโรงพยาบาลหรือค่าดำเนินการของคลินิก
เมื่อมีการกำหนดราคาตายตัวสำหรับการผ่าตัดหนึ่ง ๆ สถานพยาบาลย่อมต้องคิดคำนวณกำไรขาดทุนมาแล้ว เขามีต้นทุนค่าตอบแทน ค่าห้องผ่าตัด ยา และเวชภัณฑ์สำหรับการผ่าตัดนั้น ๆ โรงพยาบาลหรือคลินิกย่อมไม่ยอมให้มีการใช้ยาและเวชภัณฑ์มากไปกว่าที่กําหนดไว้ และตั้งราคาค่าผ่าตัดแบบเผื่อ ๆ ให้ได้กำไรแน่นอน
แต่ความเป็นจริงคือไม่มีอะไรแน่นอน หากมีเหตุอะไรก็ตามที่ต้องทำผ่าตัดนานขึ้น หรือมีเหตุที่ต้องใช้ยาและเวชภัณฑ์เกินที่กำหนดไว้ เช่น ให้ยาแก้ปวดแก้คลื่นไส้มากกว่าปกติ (คนเราไวต่อความเจ็บปวดไวต่อยาไม่เท่ากัน) ใช้ยาที่ไม่อยู่ในรายการเพื่อรักษาภาวะแทรกซ้อน ใช้เวชภัณฑ์เพื่อแก้ไขปัญหาที่ไม่คาดคิด แพทย์ผู้รักษาและสถานพยาบาลอาจลังเลที่จะทำในสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย เพียงเพราะเกรงว่าจะกำไรน้อยลง
นอกจากนี้ สงครามราคาในวงการความงามก็ยังมีอยู่ สถานบริการอาจเลือกใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่มีต้นทุนต่ำ เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด นั่นเท่ากับต้องแลกกับคุณภาพที่อาจจะด้อยลง