ในฐานะศัลยแพทย์ตกแต่ง

เป็นข้าราชการของจุฬาลงกรณ์

หมอนนท์ทำงานเป็นข้าราชการในสังกัดหน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่ง ภาควิชาวิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนแพทย์อันดับหนึ่งของประเทศไทย โดยมีโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นสถานพยาบาลหลักสำหรับการฝึกฝน  โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ยังเป็นสถาบันฝึกอบรมศัลยกรรมตกแต่งที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2541

งานหลักที่จุฬาลงกรณ์

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ความจริงแล้ว ศัลยกรรมความงามไม่ใช่งานเพียงอย่างเดียวที่หมอนนท์ทำ  หมอนนท์เป็นผู้ที่ริเริ่มว่าควรจะมีศูนย์เฉพาะทางด้านการแก้ไขความผิดปกติบนใบหน้าและศีรษะในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2543  จากเดิมที่ไม่มีศูนย์เช่นนี้ในประเทศไทยเลย หมอนนท์ได้เสนอแนวความคิดนี้ให้กับอาจารย์ที่จุฬา และร่วมผลักดันจนประสบความสำเร็จ  ในปัจจุบัน ศูนย์เฉพาะทางนั้นก็คือ ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย  เป็นศูนย์ทางด้านนี้แห่งแรกและครบวงจรที่สุดของประเทศไทย

ตลอดเวลาตั้งแต่เข้ารับราชการที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หมอนนท์ทุ่มเทแรงกายแรงใจในการสร้างความเป็นเลิศให้กับศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ มาจนถึงปัจจุบัน  หมอนนท์เป็นผู้จัดวางระบบการทำงานตั้งแต่แรก จัดหาเจ้าหน้าที่ประจำและมีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการบริหารจัดการ  กำหนดนโยบายการดูแลผู้ป่วยของศูนย์ว่าควรจะครอบคลุมทั้งกาย ใจ และสังคม  ริเริ่มให้มีและดำเนินการโครงการและกิจกรรมแทบทั้งหมดของศูนย์  ริเริ่มเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานประชาสัมพันธ์จนศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ จนเป็นที่รู้จัก  ตลอดช่วงเวลาส่วนใหญ่หลังการก่อตั้งศูนย์ คือช่วงปีพ.ศ. 2548-2563 หมอนนท์เป็นศัลยแพทย์ตกแต่งคนเดียวในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่ดูแลรักษาผ่าตัดผู้ป่วยของศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ ทั้งหมดกว่า 3,000 คน ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่น ๆ  และตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา แม้ว่าจะมีศัลยแพทย์รุ่นใหม่เข้ามาช่วยเหลือ ก็ยังคงเป็นผู้ที่ดูแลคนไข้ส่วนใหญ่ของศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ  ทั้งยังริเริ่มให้มีโครงการคลินิกเคลื่อนที่ ซึ่งเป็นนวัตกรรมการรักษาที่ดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ทั่วประเทศ  เป็นผู้ที่ริเริ่มจนมีการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดในสาขานี้ ที่เรียกว่า craniofacial fellowship นับเป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  และมีศัลยแพทย์ทั้งไทยและต่างประเทศหลายคนมาขอเรียนด้วยอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

ด้วยผลของงานที่ทำในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย หมอนนท์ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะ แห่งประเทศไทย ถึง 2 สมัย  และเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับตำแหน่งสูงสุดของสมาคมทางด้านความพิการบนใบหน้าและศีรษะในระดับสากล คือเป็นนายกสมาคม Asian Pacific Craniofacial Association

ผู้เชี่ยวชาญ 2 วุฒิบัตร

ภายหลังที่จบการฝึกอบรมเป็นเวลาถึง 5 ปีที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จนได้วุฒิบัตร 2 ใบ จากแพทยสภา คือ ทั้งศัลยศาสตร์ทั่วไปและศัลยศาสตร์ตกแต่ง  ก็ได้ทำงาน เรียนรู้ และพัฒนาตนเองกับคณาจารย์ทั้งหลาย รวมถึง นพ.ถาวร จรูญสมิทธิ์, นพ.มนัส เสถียรโชค, นพ.จรัญ มหาทุมะรัตน์, นพ.ประยุทธ โชครุ่งวรานนท์, นพ.ศิรชัย จินดารักษ์ ซึ่งเป็นศัลยแพทย์ตกแต่งชั้นนำของไทย  นี่เป็นพื้นฐานของความสำเร็จของหมอนนท์ในปัจจุบัน

ฝึกอบรมต่อยอดในต่างประเทศ

ในเวลาต่อมา หมอนนท์ได้ไปฝึกอบรมต่อยอดความรู้ความสามารถในฐานะแพทย์ประจำบ้านต่อยอดในต่างประเทศ คือที่ Australian Craniofacial Unit ประเทศออสเตรเลีย กับคณาจารย์ที่มีชื่อเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศ. นพ.เดวิด เจ เดวิด เป็นเวลา 1 ปี  ตามด้วยการฝึกอบรมอีก 1 ปีกับศ. นพ.มูตาซ ฮาบาล ที่ Tampa Bay Craniofacial Center ในรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา  ในช่วงนั้นอาจารย์ในต่างประเทศพาไปทำงานในส่วนของเอกชนที่มีผู้ป่วยทางด้านความงามด้วยตลอด 2 ปี  การฝึกอบรมในต่างประเทศนี่เองที่ทำให้มีความคิดที่เปิดกว้างยิ่งขึ้น มีทักษะชั้นสูงในการผ่าตัดทางศัลยกรรมตกแต่งและเสริมสวย รวมทั้งการแก้ไขปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของร่างกายทั้งปกติและผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับเปลี่ยนโครงกระดูกใบหน้าและศีรษะ ซึ่งในเวลานั้น หลาย ๆ การผ่าตัด ยังเป็นสิ่งที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จักกันและไม่มีการพูดถึงกันมากนักในตลาดความงาม

การฝึกอบรมในต่างประเทศ ร่วมกับการได้เข้าร่วมดูแลผู้ป่วยทางด้านความงามและเข้าร่วมประชุมระดับชาติในช่วงนั้น ทำให้ได้เห็นและได้เข้าร่วมผ่าตัดที่ใช้เทคนิคทางศัลยกรรมแนวใหม่ เครื่องมือแพทย์ และวัสดุทางการแพทย์ใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีใช้ในประเทศไทย เช่น การผ่าตัดเต้านมด้วยกล้องส่อง การผ่าตัดปรับเปลี่ยนเรือนร่าง วัสดุยึดกระดูกชนิดละลายได้ (resorbable plate and screw) อุปกรณ์เพิ่มขนาดกระดูกใบหน้า (RED distraction device) การผ่าตัดด้วยกล้องส่อง (endoscopic procedures) ผงกระดูกเทียม (bone cement) การปรับเปลี่ยนโครงสร้างใบหน้าด้วยกระดูกเทียมที่ออกแบบเฉพาะบุคคล  นับเป็นช่วงโอกาสทองของชีวิต

หมอนนท์เป็นหมอประจำครอบครัว

ไม่ได้หมายถึงเวชศาสตร์ครอบครัว แต่เป็นวิสัญญีแพทย์เพื่อนหมอนนท์ซึ่งดมยาให้ประจำ บอกว่า เป็นหมอประจำครอบครัวนี่นา  คือเขาเห็นบ่อย ๆ ว่า คนไข้หมอนนท์มักเป็นคนในครอบครัวเดียวกันหลายคนเลย ตั้งแต่พ่อ แม่ ลูก ปู่ ย่า พากันมาทำหมดเลย  ก็เลยได้สมญานี้มา โดยไม่ต้องเรียนต่อหรือสอบให้ได้ความเชี่ยวชาญแบบเวชศาสตร์ครอบครัว

ประวัติการศึกษา

2533 - แพทยศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับสอง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2539 - วุฒิบัตรศัลยศาสตร์ทั่วไป (ฝึกอบรมที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย)

2541 - วุฒิบัตรศัลยศาสตร์ตกแต่ง (ฝึกอบรมที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย)

2542-2543 - ฝึกอบรมต่อยอดศัลยศาสตร์ตกแต่งที่ Australian Cranio-facial Unit เมืองอะดิเลด ออสเตรเลีย

2543-2544 - ฝึกอบรมต่อยอดศัลยศาสตร์ตกแต่งที่ Tampa Bay Craniofacial Center ฟลอริดา สหรัฐอเมริกา

สมาชิกสมาคมวิชาชีพ

  • สมาชิกสามัญสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย
  • สมาชิกสามัญสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยแห่งประเทศไทย
  • สมาชิกก่อตั้งและสมาชิกสามัญสมาคมความพิการปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าและศีรษะ แห่งประเทศไทย
  • สมาชิกสามัญของ Asian Pacific Craniofacial Association
  • สมาชิกราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย

ความรับผิดชอบ

ผลงานทางวิชาการตีพิมพ์

29 เรื่องในวารสารการแพทย์
17 บทในหนังสือและตำราทางการแพทย์

Dr. Nond's textbook: Frontoethmoidal Encephalomeningocele หนังสือ หน้าต่างที่เปลี่ยนได้ หนังสือของศ. นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์ Atlas of Endoscopic Forehead Lift

วิทยากร

16 ครั้งในการประชุมนานาชาติ และ 47 ครั้งในการประชุมในประเทศ

ผลงานการจัดประชุม

สัมมนา Hands-on Workshop on Endoscopic Forehead Lift จัดโดยนพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์

จัดการสอนและอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การยกคิ้วด้วยกล้องส่อง (Endoscopic Brow Lift) ที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2554  เป็นการประชุมในเรื่องนี้เป็นครั้งแรกในประเทศ ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งมีผู้สมัครเข้าร่วมประชุมเต็มภายในสองวัน